เครื่องมือวิเคราะห์โมเมนตัม: Stochastics | Hantec Markets

เครื่องมือวิเคราะห์โมเมนตัม: Stochastics

ดูข้อมูลเกี่ยวกับ Stochastics เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ช่วยให้คุณสามารถระบุจุดสิ้นสุดของเทรนด์หนึ่งและจุดเริ่มต้นของอีกเทรนด์ เราจะอธิบายว่า Stochastic Oscillator คืออะไรและวิธีที่คุณสามารถใช้เพื่อคาดการณ์จุดเปลี่ยนในตลาด

อธิบายเครื่องมือวิเคราะห์โมเมนตัมทางเทคนิค

โมเมนตัมคือการวิเคราะห์ทางเทคนิคลักษณะหนึ่ง คุณจะสามารถนึกถึงวิธีที่ Stochastics ทำงานได้ หากคุณกำลังจินตนาการถึงลูกบอลที่ถูกเขวี้ยงไปในอากาศ ความเร็ว (หรือโมเมนตัมขาขึ้น) ของลูกบอลจะเริ่มช้าลงเมื่อใกล้จุดสูงสุดของแนววิถีด้านบน ซึ่งหมายความว่าโมเมนตัมขาขึ้นสามารถลดลงได้แม้ในขณะที่ลูกบอลยังคงกระเด็นขึ้นไปและก่อนที่จะเริ่มตกลงมาในภายหลัง บทเรียนของการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็คือโมเมนตัมสามารถเปลี่ยนทิศทางได้ก่อนราคา จึงเป็นเครื่องมือวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทิศทางตลาดที่กำลังจะมาถึง

Stochastic Oscillator คืออะไร

Stochastic Oscillator เป็นเครื่องมือวิเคราะห์โมเมนตัมความเคลื่อนไหวของราคา โดยจะเปรียบเทียบราคาที่กำลังเทรดกับกรอบราคา (สูงไปต่ำ) ในระยะเวลาที่กำหนด สมมติฐานเบื้องต้นก็คือในเทรนด์ขาขึ้น ราคาควรกำลังปิดใกล้กับจุดสูงสุดของกรอบการเทรดตามระยะเวลา โดยจะส่งสัญญาณถึงโมเมนตัมขาขึ้น
  • ในตลาดที่มีกำลังบวกแข็งแกร่ง ภาวะกระทิงควร “ทำให้ราคาวิ่งขึ้น” ในเซสชั่นต่างๆ
  • ในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาอยู่ในเทรนด์ขาลง โมเมนตัมของภาวะหมีที่มีกำลังควรมาพร้อมราคาที่ปิดใกล้กับจุดต่ำสุดของกรอบการเทรด
การเบี่ยงเบนจากกฎเหล่านี้จะถือเป็นสัญญาณ Stochastic Oscillator พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1957 โดยกลุ่มผู้เทรดฟิวเจอร์สซึ่งนำโดย George C. Lane Lane มีบทบาทอย่างมากในการสร้างการยอมรับและความนิยมของ Stochastic Oscillator ในฐานะที่เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค
Fast Stochastics and Slow Stochastics   Stochastic Oscillator มีสองประเภท ได้แก่ เร็วและช้า Stochastic Oscillator แบบเร็วประกอบด้วยเส้นสองเส้น
  • %K (Main Line) = การวัดข้อมูลดิบที่ใช้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโมเมนตัมที่อยู่เบื้องหลัง Oscillator ซึ่งเป็น Stochastics line หลักและจะแสดงเป็นเส้นทึบ
  • %D (Signal Line) = ค่า Moving Average ของ %K และมักจะแสดงเป็นเส้นประ
*ตัวแปรเหล่านี้เป็นที่ยอมรับ แต่จะสามารถปรับได้เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้
Fast Stochastics: %K และ %D %K = 100 X (C – Ln) / (Hn – Ln) C = ราคาล่าสุด (หรือราคาปิด) H = ราคาสูงสุดในช่วง n วันที่ผ่านมา L = ราคาต่ำสุดในช่วง n วันที่ผ่านมา H3 = ผลรวม 3 วันของ (C – Ln) L3 = ผลรวม 3 วันของ (Hn -Ln)

Slow Stochastics

Slow Stochastics ขยายการคำนวณดังกล่าวออกไปอีกขั้นเพื่อช่วยเพิ่มความราบรื่นโดยแทนที่เส้น %K ด้วยเส้น %D และแทนที่เส้น %D ด้วย Moving Average 3 วันของ %D เนื่องจาก Fast Stochastics อาจค่อนข้างผันผวน เทรดเดอร์จึงมักใช้ Slow Stochastics ซึ่งเป็นการขยายการคำนวณและออกแบบขึ้นเพื่อลดความผันผวน นอกจากนี้ Slow Stochastics ยังประกอบด้วยเส้นสองเส้นที่ใช้ %D (เป็นเส้นหลัก) และ Moving Averages ของ %D (เป็น Signal Line)

วิธีอ่าน Stochastics

Stochastics จะเคลื่อนไหวภายในกรอบ 0 ถึง 100 โดยระดับปานกลางจะอยู่ที่ 50 ระดับที่ใช้วัดซึ่งเพิ่มเข้ามาในกราฟจะอยู่ที่ 20 และ 80
  • เมื่อเส้น Stochastics อยู่เหนือ 80 ราคาจะถือเป็นภาวะกระทิงที่มีกำลังหรือการซื้อมากเกินไป
  • เมื่อเส้น Stochastics ต่ำกว่า 20 ราคาจะถือเป็นภาวะที่มีกำลังลบรุนแรงหรือการขายมากเกินไป
ตารางทางด้านล่างแสดงถึงการอ่าน Stochastics เบื้องต้น:

จุดตัดในการเทรด

เมื่อ Fast Stochastics และ Slow Stochastics ตัดกัน ก็มักจะเป็นสัญญาณการเทรด เมื่อ Fast Stochastics (Main Line) ตัดผ่าน Slow Stochastic (Signal Line) ในหนึ่งเขตที่ขยายออกไปในสองเขต (ไม่ว่าจะเหนือ 80 หรือต่ำกว่า 20) คุณควรระวังว่าอาจเกิดการกลับตัวและสัญญาณการเทรด เทรดเดอร์บางรายจะดำเนินการเมื่อพบจุดตัด อย่างไรก็ตาม Stochastics อาจขยายมากเกินไประยะหนึ่งก่อนที่จะเห็นการกลับตัว (ดูรูปภาพที่ 1) ซึ่งต้องระมัดระวังในการรอคอยให้ Main Line กลับไปสูงกว่า 20 เพื่อให้เกิดสัญญาณซื้อจากจุดตัด หรือต่ำกว่า 80 เพื่อให้เกิดสัญญาณขายจากจุดตัด เพราะจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของสัญญาณ

Divergences

เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์โมเมนตัมตัวอื่นๆ Divergences มักส่งสัญญาณเตือนตั้งแต่ช่วงแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของเทรนด์ ในเทรนด์ขาขึ้น Bearish Divergence คือการที่ราคาทำจุดสูงสุดที่สูงกว่าเดิมอย่างต่อเนื่อง แต่เส้น Stochastic ปรับตัวลดลงหรือทำจุดสูงสุดที่ต่ำกว่าเดิม จึงอาจเป็นสัญญาณถึงเทรนด์ขาขึ้นที่กำลังชะลอตัวและอาจเกิดการกลับตัวโดยปรับตัวลดลง ในเทรนด์ขาลง Bullish Divergence (ราคาทำจุดต่ำสุดที่ต่ำกว่าเดิม แต่เส้น Stochastic กำลังปรับตัวขึ้นหรือเริ่มต้นทำจุดต่ำสุดที่สูงกว่าเดิม) อาจเป็นสัญญาณเริ่มแรกของเทรนด์ขาลงที่กำลังชะลอตัวและอาจเกิดการกลับตัวโดยปรับตัวเพิ่มขึ้น
รูปภาพที่ 1: สัญญาณการเทรดของ USD/JPY ที่ใช้ Stochastics
ในตัวอย่างของ USD/JPY ข้างต้น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2016 ถึงกรกฎาคม 2017 Stochastics ได้ให้สัญญาณจำนวนมาก ในฐานะเครื่องมือวิเคราะห์ Stochastics มีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีกว่าในตลาดที่มีเทรนด์ไซด์เวย์ แต่จุดที่น่าสนใจก็คือการรอดูว่าเมื่อมีการปรับตัวลดลงที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงของเทรนด์เชิงลบแบบอ่อนแรง สัญญาณขายจะทำงานได้ดีกว่าสัญญาณซื้อเป็นอย่างมาก ระหว่างเดือนธันวาคม 2016 ถึงกรกฎาคม 2017 สัญญาณซื้อปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีการยืนยันสัญญาณ cross-sell ในภาวะหมี (ตัดกลับไปใต้ 80) ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญถึงสี่ครั้ง นอกจากนี้ Bearish Divergence ยังส่งสัญญาณเมื่อ Stochastics ตัดกลับไปใต้ 80 สิ่งที่น่าสนใจก็คือระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2017 สัญญาณซื้ออ่อนกำลังลง (เปลี่ยนแปลงเร็วมาก) และไม่ทำหน้าที่เป็นสัญญาณ หลังจากนั้น สัญญาณมีกำลังมากขึ้นในเดือนเมษายนและมิถุนายนโดยแสดงความน่าเชื่อถือมากขึ้น จึงมีสัญญาณซื้อที่มีกำลังสองครั้ง