ธนาคารกลางและนโยบายการเงิน | Hantec Markets

ธนาคารกลางและ นโยบายการเงิน

The policy decisions taken by central banks and governments have a huge impact on the price of a currency or pair. We’ll explain how monetary policy works, who the biggest influencers are, and why you need to sort the hawks from the doves.

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน

การทำความเข้าใจว่าตลาดคาดหวังให้ธนาคารกลางเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน (อัตราดอกเบี้ย) อย่างไรนั้นจำเป็นต่อการทำความเข้าใจว่าตลาดจะประเมินราคาสินทรัพย์ทางการเงินอย่างไร
  • “เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่”
  • ““เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำมาตรการ QE เพิ่มขึ้น”
  • ““พวกเขาจะดำเนินการเมื่อใด”
  • “อัตราดอกเบี้ยอาจสูงขึ้นได้มากน้อยเพียงใด”

สิ่งที่คุณควรพิจารณา

คำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์และนักลงทุนต้องพิจารณา ในวงการเทรด นโยบายการเงินอาจเป็นข้อมูลเศรษฐศาสตร์มหภาคที่สำคัญที่สุด ประเทศจะสามารถบริหารจัดการเศรษฐกิจของตนเองได้ด้วยสองวิธีหลัก ได้แก่:
  1. ผ่านนโยบายการคลัง (กล่าวคือการเก็บภาษีและการใช้จ่ายของภาครัฐ)
  2. ผ่านนโยบายการเงิน (กล่าวคือเมื่อธนาคารกลางเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย)
ถึงแม้นโยบายการคลังอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ตลาดจะให้ความสนใจอย่างจริงจัง

นโยบายการเงินคืออะไร

ตามธรรมเนียมแล้ว ธนาคารกลาง (เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือธนาคารกลางยุโรป) จะสามารถปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นหรือลงได้ หลังวิกฤตการเงินในปี 2008 อัตราดอกเบี้ยก็ถูกปรับลดลงไปเป็นศูนย์ (ZIRP – Zero Interest Rate Policy) ในวงกว้าง ส่งผลให้จำเป็นต้องอาศัยมาตรการด้านนโยบายการเงินที่ผิดปกติ ดังนั้น ธนาคารกลางจึงนำมาตรการ QE (QUANTITATIVE EASING) มาใช้ โดยใช้เงินที่ผลิตทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อซื้อตราสารหนี้ (มักเป็นหนี้สาธารณะ) ซึ่งเป็นนโยบายการเงินที่ออกแบบขึ้นเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนและช่วยเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ

กรอบข้อความ: นโยบายการเงินแบบเข้มงวดกับแบบแบบผ่อนคลาย

โดยทั่วไปนั้น ธนาคารกลางมีสามทางเลือกเกี่ยวกับนโยบายการเงิน โดยสามารถเลือก:
  • ผ่อนคลาย – การปรับลด (หรือหั่น) อัตราดอกเบี้ย ในไม่กี่ปีมานี้ การดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายมีส่วนเกี่ยวข้องหรือช่วยเพิ่มมาตรการ QE ของสินทรัพย์ที่ซื้อ
  • เข้มงวด – การเพิ่ม (หรือภาษาเฉพาะ “ปรับขึ้น”) อัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจรวมถึงการลด QE ลงหรือ ‘มาตรการเข้มงวด’ ทางการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Tightening) นั่นเอง ธนาคารกลางจะขายคืนตราสารหนี้ที่เคยซื้อไว้ก่อนหน้านี้ตามโครงการ QE เนื่องจากพวกเขาพยายามลดงบดุลจำนวนมาก
  • ไม่เปลี่ยนแปลง – หรือที่เรียกว่า “ตรึง” โดยธนาคารกลางจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินจะมีผลกระทบอย่างยิ่งสำหรับสิ่งต่อไปนี้: การไหลของเงินร้อน – ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เกิดเงินไหลเข้า (เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น) หรือเงินไหลออก (เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ) ในสกุลเงินของประเทศ เพราะเทรดเดอร์นานาชาติกำลังต้องการได้ประโยชน์จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสองประเทศ ปกติแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อค่าเงินของประเทศเนื่องจากสกุลเงินมีอุปสงค์เพิ่มขึ้น ตลาดตราสารหนี้ – เนื่องจากตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ประเภทที่สร้ายรายได้คงที่ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจึงทำให้ความน่าสนใจของตราสารหนี้ภายในประเทศนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไป อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะผลักดันให้ตราสารหนี้มีอุปสงค์ลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการถือครองเงินสดสูงกว่าการถือครองตราสารหนี้ หากคุณได้รับดอกเบี้ยมากกว่าจากการถือครองเงินสด ก็จะทำให้อุปสงค์ของเงินสดมากกว่าตราสารหนี้ ดังนั้นราคาตราสารหนี้จึงปรับตัวลดลง (หมายเหตุ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ผลตอบแทนตราสารหนี้สูงขึ้นเนื่องจากราคาตราสารหนี้กับผลตอบแทนจะเคลื่อนไหวผกผันกัน) เหตุใดนโยบายการเงินจึงมีความสำคัญ ธนาคารกลางจะพิจารณาข้อมูลชี้วัดทางเศรษฐกิจของประเทศเมื่อตัดสินใจว่าจะกำหนดนโยบายการเงินอย่างไร อย่างไรก็ตาม ข้อมูลบางอย่างอาจสำคัญมากกว่าข้อมูลอื่นๆ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงานและการเติบโตของ GDP ล้วนมีผลต่อมุมมองทางเศรษฐกิจในภาพรวมและการคาดการณ์ที่ธนาคารมีต่อเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจกำลังร้อนแรงขึ้น ข้อมูลชี้วัดทางเศรษฐกิจจะเริ่มดีขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายความว่าการเติบโตจะเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานจะลดลง และอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มสูงขึ้น Goldilocks และหมีสามตัวอาจเป็นการอุปมาที่ดีสำหรับความสมดุลที่ธนาคารกลางพยายามประคับประคองไปในสถานการณ์เหล่านี้ อธิบายย่อๆ ก็คือเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางไม่ต้องการให้เศรษฐกิจร้อนแรงหรือชะลอตัวเบาเกินไป แต่ต้องการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม พวกเขาต้องการให้เศรษฐกิจดีขึ้นแต่ไม่ร้อนแรงเกินไป จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ สังเกตการณ์สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินที่สำคัญ
  • สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินจะมีผลกระทบต่อมุมมองตลาดด้านนโยบายการเงิน ตลาดจะติดตามการเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการออกเสียง (โดยเฉพาะในคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC) ในแต่ละปีอย่างใกล้ชิด
  • การที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางกล่าวนอกกำหนดการประกาศตามปกติของธนาคารกลางอาจช่วยประเมินมุมมองปัจจุบันของสมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินที่มีสิทธิ์ออกเสียงได้
  • นอกจากนี้ ให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงความเห็น/จุดยืนส่วนตัว (โดยเฉพาะสมาชิกที่มีสิทธิ์ออกเสียง) ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเรื่องนโยบายการเงินในอนาคต
ข้อควรจำ: ผลกระทบจากนโยบายการเงิน การปรับอัตราดอกเบี้ยจะกระทบต่อสินทรัพย์ทุกประเภท หากทุกอย่างเป็นไปตามคาด การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยควร
  • ทำให้ค่าเงินของประเทศแข็งค่าขึ้น
  • ทำให้ราคาตราสารหนี้ของประเทศปรับตัวลดลง จึงทำให้ผลตอบแทนตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
  • อาจทำให้หุ้นในประเทศปรับตัวลดลง*
*หมายเหตุ เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน หุ้นมีแนวโน้ม ที่จะปรับตัวดีขึ้นในสภาวะที่นโยบายการเงินผ่อนคลายลง แต่อาจต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยกลับสู่ภาวะปกติ (หลังจากที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากมาระยะหนึ่ง) ซึ่งยังอาจถือเป็นสัญญาณความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจที่บริษัทต่างดำเนินกิจการและเป็นสัญญาณถึงการคาดการณ์ที่ดีขึ้นในอนาคต