อัตราเงินเฟ้อ | Hantec Markets

อัตราเงินเฟ้อ

Inflation can de-value a currency quickly when price rises for consumer products make the units of a country's currency less valuable. Keeping inflation levels in check is the job of central bankers. Learn more about what causes it.

อัตราเงินเฟ้อส่งผลต่อตลาดเงินอย่างไร

ระดับอัตราเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีบทบาทในการกำหนดความแข็งค่าของสกุลเงิน เพราะอัตราเงินเฟ้อมีผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลาง การที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจะกดดันให้ธนาคารกลางพิจารณาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก
  • อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำเกินไปจะทำให้เศรษฐกิจเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัว
  • อัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไปจะลดทอนมูลค่าเงินที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจ
ธนาคารกลางมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยูในระดับต่ำและไม่ผันผวน โดยมักเป็นอำนาจหน้าที่หลักของบรรดาธนาคารกลาง
กรอบข้อความ: ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อลดลงและภาวะเงินฝืด
  • ภาวะเงินเฟ้อ – คือการที่ระดับราคาทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะเวลาหนึ่งถึงระยะเวลาถัดไป ซึ่งโดยปกติมักจะวัดเป็นรายปี
  • ภาวะเงินเฟ้อลดลง – คือการที่ยังมีภาวะเงินเฟ้อในเศรษฐกิจแต่ระดับเงินเฟ้อกำลังลดลง โดยระดับราคาทั่วไปจะยังคงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะเวลาหนึ่งถึงระยะเวลาถัดไปแต่จะอยู่ในระดับต่ำลง ตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในภาวะเงินเฟ้อซึ่งก่อนหน้านี้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 2.0% จากนั้นก็ลดลงมาเป็น 1.5% แล้วตกลงมาที่ 1.0% ในภายหลังจะกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ภาวะเงินเฟ้อต่ำลงหรือภาวะเงินเฟ้อลดลง
  • ภาวะเงินฝืด – คือการที่อัตราเงินเฟ้อติดลบ โดยระดับราคาทั่วไปจะปรับตัวลดลงตั้งแต่ระยะเวลาหนึ่งถึงระยะเวลาถัดไป ซึ่งถือเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจ สิ่งที่น่ากังวลก็คือเมื่อผู้บริโภคยอมรับว่าภาวะเงินฝืดกำลังเกิดขึ้น จะทำให้การใช้จ่ายชะลอตัวลงเพราะเชื่อว่าราคาสินค้าจะต่ำลงอีกในอนาคต

เหตุใดอัตราเงินเฟ้อจึงสำคัญ

ธนาคารกลางจะพิจารณาอัตราเงินเฟ้อและใช้เป็นเกณฑ์หลักในการดำเนินนโยบายการเงิน ธนาคารกลางที่เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นจะระมัดระวังว่าอาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมราคาสินค้า การที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะทำให้การกู้ยืมมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงช่วยยับยั้งอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจ จากนั้น การที่อุปสงค์ลดลงจะเริ่มสร้างแรงกดดันในเชิงลบต่อระดับราคาสินค้าทั่วไปและทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับปานกลางอีกครั้ง ดังนั้น อัตราเงินเฟ้อจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายการเงิน ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มี “หน้าที่สำคัญสองประการ” ตามที่กฎหมาย Federal Reserve Act ปี 1977 บัญญัติไว้ หนึ่งในหน้าที่สำคัญสองประการก็คือการส่งเสริมเสถียรภาพทางราคาและอีกหนึ่งหน้าที่จะเกี่ยวกับการดูแลอัตราการว่างงานให้อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เฟดได้ตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ 2% ซึ่งได้รับอำนาจในการดำเนินการให้บรรลุเป้าดังกล่าว นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษก็ตั้งเป้าดัชนีราคาผู้บริโภคไว้ที่ 2% ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปมีหน้าที่ดูแลอัตราเงินเฟ้อให้ “ต่ำกว่า 2% เพียงเล็กน้อย”

การประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อต่างๆ

มีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจหลายตัวตลอดเดือนซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อแก่คุณ การที่ข้อมูลชี้วัดเหล่านี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลบวกต่อค่าเงินของประเทศ แต่จะส่งผลลบต่อราคาตราสารหนี้ ทั้งนี้ ข้อมูลสำคัญที่จะต้องติดตามได้แก่
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ข้อมูลชี้วัดตัวนี้เป็นเกณฑ์วัดอัตราเงินเฟ้อในนานาประเทศที่ได้รับการยอมรับและจะส่งผลกระทบต่อตราสารหนี้และค่าเงินของประเทศเป็นอย่างมาก CPI ที่เป็นข้อมูลดิบจะรวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน ดังนั้น CPI พื้นฐานจึงมักเป็นเกณฑ์วัดอัตราเงินเฟ้อที่ดีกว่าเนื่องจากจะเจาะลึกและปรับสำหรับปัจจัยที่ผันผวน หาก CPI ที่เป็นข้อมูลดิบยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ CPI พื้นฐานกำลังเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลต่อตลาด เงิน และตราสารหนี้ คุณควรติดตามดูตัวเลขทั้งคู่และให้ความสนใจข้อมูลที่เทียบช่วงเดียวกันของปีนี้กับปีก่อนหน้าเป็นหลัก รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) PCE เป็นข้อมูลชี้วัดของสหรัฐฯ และเป็นวิธีประเมินอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ เพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภคคิดเป็น 70% ของมูลค่าการใช้จ่ายขั้นสุดท้ายในสหรัฐฯ ค่าเฉลี่ยการเติบโตของรายได้ ข้อมูลชี้วัดนี้จะแสดงว่าค่าจ้างแรงงานกำลังเติบโตมากเพียงใด ค่าเฉลี่ยการเติบโตของรายได้เป็นองค์ประกอบสำคัญในภาวะเศรษฐกิจของประเทศตามหลักการที่ว่าการเติบโตของค่าจ้างแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดคุณภาพชีวิต หากการเติบโตของรายได้ (ตามที่เรียกกัน) สูงกว่า CPI อย่างต่อเนื่อง ค่าจ้างแรงงานตามจริงจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น คุณภาพชีวิตของผู้คนก็จะดีขึ้นในภาพรวม อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่แข็งแกร่งของค่าจ้างแรงงานยังน่าจะเป็นข้อมูลชี้วัดถึงอัตราเงินเฟ้อในอนาคตเนื่องจากผู้คนจะมีเงินใช้จ่ายกันมากขึ้น ในสหรัฐฯ การเติบโตของค่าจ้างแรงงานจะวัดในรายงานสถานการณ์การจ้างงาน (กล่าวคือรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร) เป็น “ค่าเฉลี่ยรายได้รายชั่วโมง” ขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะประกาศพร้อมข้อมูลการจ้างงานโดยวัดเป็น “ค่าเฉลี่ยรายได้รายสัปดาห์”
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) หรือที่เรียกว่า “อัตราเงินเฟ้อหน้าโรงงาน” จะวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาขายที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศได้รับ ทฤษฎีบ่งชี้ว่าผู้ค้าปลีกจะผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้ผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีการใช้ PPI เพื่อประมาณการ CPI ดัชนีอัตราค่าจ้างแรงงาน (ECI) ข้อมูลที่ประกาศรายไตรมาสจะให้การประเมินค่าจ้างแรงงานของลูกจ้างสหรัฐฯ ในวงกว้าง โดยค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนจะคิดเป็น 70% ของค่าจ้างแรงงานทั้งหมด นอกจากนี้ ECI ยังเป็นการประเมินความสามารถในตลาดแรงงาน รวมทั้งบ่งชี้ถึงการเติบโตของรายได้และอัตราเงินเฟ้อ

ผลกระทบที่อัตราเงินเฟ้อมีต่อตลาดเงิน

ตลาดตราสารหนี้ มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้ออย่างมากเนื่องจากผลกระทบที่อาจมีต่อนโยบายการเงินและการคาดการณ์เกี่ยวกับนโยบายการเงินในอนาคต หากตลาดตราสารหนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น (และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นในภายหลัง) ตราสารหนี้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันในการขาย ซึ่งจะดันให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลง หมายความว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากลักษณะที่ให้รายได้คงที่ ตลาดเงิน จะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในไม่ช้าเช่นกันเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความน่าจะเป็นที่ธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ผลที่ตามมาก็คืออุปสงค์สกุลเงินของประเทศจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้เกิด “การไหลของเงินร้อน” ดังนั้น ราคาค่าเงินของประเทศจะปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศอื่นๆ
ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อนั้นยังไม่แน่นอน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาโดยขึ้นอยู่กับขนาดการเปลี่ยนแปลง ทิศทางและระดับอัตราเงินเฟ้อ หากทุกอย่างเป็นไปตามคาด อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยของบริษัทต่างๆ จะเพิ่มขึ้นไปด้วย แม้บริษัทเหล่านี้จะต้องการภาวะที่อัตราดอกเบี้ยลดลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมจะถูกลง ในที่สุด อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็อาจส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ในกรณีของตลาดเงิน จะไม่มีอะไรที่ชัดเจน