เทรนด์ไลน์ | Hantec Markets

เทรนด์ไลน์สำหรับมือใหม่

เจาะลึกการใช้เทรนด์ไลน์ในการวิเคราะห์เทคนิค การเรียนรู้วิธีอ่านและระบุเทรนด์ไลน์ที่ถูกต้องอาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง Hantec Markets พร้อมช่วยเหลือคุณ

เทรนด์ไลน์คืออะไร

คาดกันว่าเทรนด์น่าจะเป็นแนวคิดที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยเทรนด์จะก่อตัวขึ้นเมื่อราคาเคลื่อนไหวในทิศทางที่ต่อเนื่องไปสักระยะ เทรนด์ไลน์เป็นเทคนิคกราฟแบบง่ายที่คุณลากเส้นเพื่อเชื่อมโยงราคาจนแสดงเทรนด์ของราคา จากนั้นคุณจะสามารถใช้เส้นดังกล่าวเพื่อแสดงเทรนด์และค้นหาการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น การค้นหาเทรนด์ไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป ข้อครหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็คือเทรนด์ไลน์อาจเป็นความคิดเห็นส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ในกราฟใดๆ คุณจะสังเกตเห็นว่าราคาไม่ได้มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวเป็นเส้นตรงในทิศทางที่กำหนด แต่จะมีการทำจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดต่อเนื่องกัน เมื่อคุณเห็นจุดต่ำสุดที่สูงกว่าเดิมและจุดสูงสุดที่สูงกว่าเดิมต่อเนื่องกันระยะหนึ่ง และจุดเหล่านั้นสามารถเชื่อมโยงกันได้ คุณก็จะสามารถลากเส้นเทรนด์ขาขึ้นได้ หรือเมื่อคุณเห็นจุดสูงสุดที่ต่ำกว่าเดิมและจุดต่ำสุดที่ต่ำกว่าเดิมต่อเนื่องกันระยะหนึ่ง ก็อาจเป็นไปได้ที่จะลากเส้นเทรนด์ขาลง
รูปภาพที่ 1: ขั้นตอนการสร้างเทรนด์ขาขึ้น
รูปภาพที่ 1 จะแสดงกราฟเส้นของความเคลื่อนไหวของราคา ขณะที่เส้นเคลื่อนไหวผ่านจุดต่ำสุดที่สูงกว่าเดิมและจุดสูงสุดที่สูงกว่าเดิม คุณจะสามารถเชื่อมโยงจุดต่ำสุดดังกล่าวได้ด้วยเส้นตรงเพื่อสร้างเทรนด์ขาขึ้น ทั้งนี้ จุดต่ำสุดที่ต่อกันแต่ละจุดจะไม่สามารถต่ำกว่าจุดต่ำสุดก่อนหน้านี้ได้เพื่อรักษาเทรนด์ขาขึ้น มิฉะนั้น เทรนด์จะถือเป็นเทรนด์ที่อาจกลับตัว
รูปภาพที่ 2: ขั้นตอนการสร้างเทรนด์ขาลง
รูปภาพที่ 2 แสดงว่าการปรับตัวลดลงของราคาหมายความว่าคุณสามารถลากเทรนด์ขาลงได้ ขณะที่ราคาปรับตัวลดลงระหว่างจุดสูงสุดที่ต่ำกว่าเดิมและจุดต่ำสุดที่ต่ำกว่าเดิม คุณจะสามารถเชื่อมโยงจุดสูงสุดที่ต่ำกว่าเดิมเพื่อสร้างเทรนด์ขาลง เทรนด์ของตลาดมีสามลักษณะ ได้แก่ เทรนด์ขาขึ้น เทรนด์ขาลง และไซด์เวย์ เมื่อมีความเคลื่อนไหวเล็กน้อยไม่ว่าจะขาขึ้นหรือขาลงโดยที่จุดต่ำสุดและจุดสูงสุดของราคาไม่สามารถผลักดันไปตามทิศทางได้ ก็จะเรียกว่าไซด์เวย์หรือเทรนด์ในแนวราบ ทั้งนี้ เทรนด์แบบไซด์เวย์จะไม่ถือเป็นเทรนด์ด้วยตัวเอง แต่จะบ่งบอกถึงเทรนด์ที่ไม่สามารถกำหนดได้ไม่ว่าในทิศทางใด จึงถือว่าตลาดเทรดอยู่ในกรอบ

เทรนด์ระยะสั้น กลาง หรือยาว

ระยะเวลาในการจัดกลุ่มเทรนด์แบ่งเป็นสามระยะด้วยกัน เทรนด์ในทิศทางใดๆ ก็ตามสามารถจัดกลุ่มได้เป็นเทรนด์ระยะยาว เทรนด์ระยะกลางหรือเทรนด์ระยะสั้น เทรดเดอร์และนักลงทุนสามารถใช้ระยะเวลาในการลงทุนที่ต่างกันสำหรับมุมมองของตนเองโดยขึ้นอยู่กับตลาดที่พวกเขากำลังเทรด เทรดเดอร์อาจถือว่า “ระยะยาว” ก็คือหกเดือน ขณะที่นักลงทุนหุ้นอาจถือว่าเทรนด์ระยะยาวก็คือหนึ่งถึงสองปี แต่เทรนด์ระยะกลางในการเทรดค่าเงินมักอยู่ในกรอบหนึ่งเดือนถึงสามเดือน ส่วนเทรนด์ระยะที่สั้นกว่าอาจถือว่ายาวสองสามวันจนถึงสองสามสัปดาห์ เทรนด์ที่ยาวกว่า (หลัก) อาจประกอบด้วยเทรนด์ระยะกลางหลายเทรนด์ ดังนั้น เทรนด์ระยะกลาง (รอง) จึงอาจเคลื่อนไหวตามหรือขัดกับทิศทางของเทรนด์หลัก เมื่อเทรนด์หลักเป็นเทรนด์ขาขึ้นและราคาเคลื่อนไหวโดยปรับฐานเป็นขาลงตามด้วยเทรนด์ขาขึ้นที่ต่อเนื่อง การปรับฐานจะถือเป็นเทรนด์ระยะกลาง เทรนด์ที่สั้นกว่า (หรือ ‘ย่อย’) สามารถอยู่ในทั้งเทรนด์ระยะกลางและเทรนด์ที่ยาวกว่า
รูปภาพที่ 2: เทรนด์ระยะสั้น กลาง และยาวของทองคำ

เทรนด์ไลน์ในการเทรด

เทรดเดอร์เทคนิคจะจับตาดูเทรนด์ต่างๆ ดังนั้นเทรนด์ไลน์จึงทำหน้าที่เป็นแนวรับและแนวต้านรูปแบบหนึ่ง หากมีการค้นพบเทรนด์ จึงอาจใช้เป็นสัญญาณการเทรดได้ เมื่อมีการค้นพบเทรนด์ขาขึ้น การปรับฐานลงไปหาแนวรับของเทรนด์ขาขึ้นก็อาจใช้เป็นจังหวะซื้อได้ หากเป็นเทรนด์ขาลงก็จะเกิดเหตุการณ์ตรงกันข้ามโดยการวิ่งขึ้นไปหาแนวต้านของเทรนด์ไลน์ก็อาจเป็นโอกาสขาย ยิ่งใช้เทรนด์ไลน์เป็นแนวรับหรือแนวต้านบ่อยเท่าใด ความเชื่อมั่นในการเทรดก็มากขึ้นตามไปด้วย การทะลุเทรนด์ไลน์จะลดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับทิศทางตลาดและการเทรด จึงมีการใช้เทรนด์ไลน์เป็น Stop-loss เช่นกันในลักษณะนี้ ในตัวอย่างกราฟทองคำ การทะลุเทรนด์ไลน์มักมาพร้อมการกลับตัวที่สำคัญ เมื่อเกิดการทะลุเทรนด์ไลน์ ก็มักมีความเคลื่อนไหวที่รุนแรงโดยเทรดเดอร์จะมองว่าระดับสำคัญ (ไม่ว่าจะเป็นแนวรับในเทรนด์ขาขึ้นหรือแนวต้านในเทรนด์ขาลง) ถูกขยับไป ดังนั้น ในสถานะ Long การตั้ง Stop-loss ในเทรนด์ขาขึ้นจะเป็นหลักประกันที่มีประโยชน์เพื่อรับมือกับการขาดทุนมหาศาลจากการเทรด

อย่าลืม: เทรนด์เป็นเพื่อนของคุณ

คำกล่าวที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็คือ “เทรนด์เป็นเพื่อนของคุณ” การสามารถทำความเข้าใจและค้นพบเทรนด์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้คุณสามารถเทรดได้ตามเทรนด์มากกว่าเทรดตรงข้ามกับเทรนด์